เมนู

9. มัฏฐกุณฑลีวิมาน


ว่าด้วยมัฏฐกุณฑลีวิมาน


พราหมณ์

ถามเทพบุตรนั้นว่า
[83] เจ้าแต่งตัว มีตุ้มหูเกลี้ยง ทรงมาลัย
ดอกไม้ ทาตัวด้วยจันทน์แดง ประคองแขนคร่ำครวญ
อยู่ในกลางป่า เจ้าเป็นทุกข์หรือ.

มัฏฐกุณฑลีเทพบุตรตอบว่า
เรือนรถทำด้วยทองคำงามผุดผ่อง เกิดขึ้นแก่
ข้า ข้าหาคู่ล้อรถนั้นยังไม่ได้ ข้าจะสละชีวิตเพราะ
ความทุกข์นั้น.

พราหมณ์กล่าวว่า
พ่อมาณพผู้เจริญ เจ้าอยากได้ล้อทองคำ แก้ว-
มณี ทองแดง หรือเงิน ก็จงบอกแก่ข้า ข้าจะจัด
คู้ล้อให้เจ้า.

มาณพนั้นกล่าวตอบพราหมณ์นั้นว่า พระ-
จันทร์พระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมปรากฏในท้องฟ้านั้น
รถทองของข้า ย่อมงามด้วยคู้ล้อนั้น.

พราหมณ์กล่าวว่า
พ่อมาณพ เจ้าเป็นคนโง่ ที่มาปรารถนาสิ่งที่
ไม่ควรปรารถนา ข้าเข้าใจว่าเจ้าจักตาย ( เสียก่อน)

จักไม่ได้พระจันทร์และพระอาทิตย์แน่ ๆ.
มาณพกล่าวว่า
แม้การไปการมาของพระจันทร์พระอาทิตย์ ก็
ยังเห็นกันอยู่ รัศมีของพระจันทร์พระอาทิตย์ ก็ยัง
เห็นกันอยู่ในวิถีทั้งสอง คนที่ตายล่วงลับไปแล้ว ใคร
ก็ไม่เห็น เราสองคนที่ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ในที่นี้ ใคร
โง่กว่ากัน.

พราหมณ์กล่าวว่า
พ่อมาณพ เจ้าพูดจริง เราสองคนที่ร้องไห้
คร่ำครวญอยู่ ข้านี้แหละเป็นคนโง่กว่า ปรารถนา
คนที่ตายล่วงลับไปแล้ว เหมือนทารกร้องไห้อยากได้
พระจันทร์ฉะนั้น เจ้ามารดาข้าผู้เร่าร้อนให้สงบ ดับ
ความกระวนกระวายทั้งหมดได้ เหมือนเอาน้ำรดไฟ
ที่ราดเปรียงฉะนั้น เจ้าผู้ที่บรรเทาความโศกเศร้าถึง
บุตรของข้าผู้เฝ้าแต่เศร้าโศก ชื่อว่าได้ถอนลูกศร
คือความโศกที่เกาะหัวใจของข้าขึ้นได้แล้ว พ่อมาณพ
ข้าเป็นผู้ที่เจ้าถอนลูกศร คือความโศกขึ้นให้แล้ว ก็
เป็นผู้ดับร้อน เย็นสนิท ไม่ต้องเศร้าโศก ไม่ต้อง
ร้องให้ เพราะฟังเจ้า เจ้าเป็นเทวดา หรือเป็นคน-
ธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกะผู้ให้หานในชาติก่อน เจ้า

เป็นใคร หรือเป็นบุตรของใคร เราจะรู้จักเจ้าได้
อย่างไร.

มาณพตอบว่า
ท่านเผาบุตรที่ป่าช้าเองแล้ว คร่ำครวญร้องไห้
ถึงบุตรคนใด ข้าคือบุตรคนนั้น ทำกุศลกรรมแล้ว
ถึงความเป็นสหายของทวยเทพชั้นไตรทศ.

พราหมณ์ถามว่า
เมื่อท่านให้ทานน้อยหรือมากในเรือนของตน
หรือรักษาอุโบสถกรรมเช่นนั้น เราก็มิได้เห็น เพราะ
กรรมอะไร ท่านจึงไปเทวโลกได้.

มาณพตอบว่า
ข้าป่วยเป็นไข้ได้รับทุกข์ มีกายกระสับกระ-
ส่ายอยู่ในที่อยู่ของตน ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศ-
จากกิเลสธุลี ข้ามพ้นความสงสัย เสด็จไปดีแล้ว
มีพระปัญญาไม่ทราม ข้านั้นมีใจเบิกบานเลื่อมใสได้
กระทำอัญชลีแด่พระตถาคต ข้าทำกุศลกรรมนั้น จึง
ถึงความเป็นสหายของทวยเทพชั้นไตรทศ.

พราหมณ์กล่าวว่า
น่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีหนอ อัญชลีกรรม
มีผลเป็นได้ถึงเช่นนี้ แม้ข้าก็มีใจเบิกบาน มีจิต

เลื่อมใส จึงขอถึงพระพุทธเจ้าว่า เป็นสรณะที่พึ่ง
ในวันนี้นี่แหละ.

มาณพกล่าวว่า
ท่านจึงมีจิตเลื่อมใส ถึงพระพุทธเจ้าพระธรรม
และพระสงฆ์ว่า เป็นสรณะที่พึ่งในวันนี้นี่แหละ อนึ่ง
ท่านจงสมาทานสิกขาบท 5 อย่าให้ขาดและด่าง
พร้อย จงรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์เสีย จงเว้นการ
ถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ในโลก จงไม่ดื่มน้ำเมา
และไม่กล่าวเท็จ จงยินดีด้วยภรรยาของตน.

พราหมณ์กล่าวว่า
ข้าแต่เทวดาผู้น่าบูชา ท่านเป็นผู้ปรารถนา
ประโยชน์ ปรารถนาเกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะ
ทำตามคำของท่าน ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า
เถิด. ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า และพระธรรมว่า
เป็นสรณะที่พึ่งอันยอดเยี่ยม และข้าพเจ้าขอถึงพระ-
สงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นนรเทพว่า เป็น
สรณะที่พึ่ง.

ข้าพเจ้างดเว้นจากการฆ่าสัตว์อย่างฉับพลัน งด
การถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ในโลก ข้าพเจ้าไม่ดื่ม

น้ำเมา และไม่กล่าวเท็จ และเป็นผู้ยินดีด้วยภรรยา
ของตน ดังนี้.

จบมัฏฐกุณฑลีวิมานที่ 9

อรรถกถามัฏฐกุณฑลีวิมาน


มัฏฐกุณฑลีวิมาน มีคาถาว่า อลงฺกโค มฏฺฐกุณฺฑลี เป็นต้น.
มัฏฐกุณฑลีวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พราหมณ์ชาวสาวัตถีคนหนึ่ง เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
เป็นคนไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ให้อะไรแก่
ใคร ๆ เพราะไม่ให้นั่นเอง เขาจึงเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า อทินนปุพพกะ
ไม่เคยให้ เขาไม่ต้องการเฝ้าพระตถาคต ไม่ต้องการแม้จะเห็นสาวกของ
พระตถาคต เพราะความเป็นคนโลภโดยเป็นมิจฉาทิฏฐิ เขาสอนบุตรของ
ตนชื่อมัฏฐกุณฑลีว่า ลูก เจ้าไม่พึงไปหา ไม่พึงเห็นพระสมณโคดมและ
สาวกของพระองค์ แม้ตัวเขาเองก็ได้กระทำอย่างนั้น คราวนั้น บุตรของ
เขาป่วย พราหมณ์ไม่ได้ทำยารักษา เพราะกลัวเปลืองทรัพย์ เมื่อโรค
กำเริบขึ้นจึงเชิญหมอมาดู หมอทั้งหลายดูร่างกายของเขาแล้ว รู้ว่าเด็กนั้น
รักษาไม่หายจึงหลีกไป พราหมณ์คิดว่า เมื่อลูกตายในเรือน นำออก
ลำบาก จึงอุ้มบุตรให้นอนที่นอกซุ้มประตู.
ณ ราตรีปัจจุสสมัยใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระมหา-